Insight

เลือกซื้อประกันสุขภาพให้เหมาะสมกับตัวเอง

Published

Read time

เลือกซื้อประกันสุขภาพให้เหมาะสมกับตัวเอง

 

เลือกซื้อประกันสุขภาพให้เหมาะสมกับตัวเอง

 

Pre-existing Conditions)

IPD)OPD)

เลือกซื้อประกันสุขภาพให้เหมาะสมกับตัวเอง

 

ควรเลือกทำประกันกับบริษัทประกันที่มีความน่าเชื่อถือ ฐานะทางการเงินที่มั่นคงเพื่อรับประกันการบริหารจัดการที่ดีของบริษัท มีช่องทางการขายและการให้บริการที่หลากหลาย มีสาขาและเครือข่ายโรงพยาบาลที่ครอบคลุม บริการทั่วถึง และเข้าถึงง่าย นอกจากนี้เราควรศึกษาเงื่อนไขการเคลมประกันและบริการหลังการขาย รวมถึงระยะเวลาการจ่ายเงินชดเชยจากการเรียกเคลมประกันด้วย

เราสามารถตรวจสอบสถานะความมั่นคงของบริษัทประกันได้ โดยการใช้ความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันเป็นเกณฑ์ชี้วัด ซึ่งสามารถดูได้จาก “อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน หรือ Capital Adequacy Ratio (CAR)” ตามข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) หรือเข้าไปที่ https://www.oic.or.th/en/industry/statistic/data/935/2

เบี้ยประกันที่เหมาะสมในการซื้อประกันสุขภาพ ไม่จ่ายเบี้ยเกินตัว

ควรพิจารณาเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะสม ไม่มากไปหรือน้อยเกินไป โดยพิจารณาศักยภาพของตนเองว่าสามารถจ่ายเบี้ยประกันได้ในระดับใด ซึ่งโดยปกติไม่ควรจะเกิน 10-15% ของรายได้รวมทั้งปี ตัวอย่างเช่น รายได้เดือนละ 30,000 บาท เมื่อคิดเป็นรายได้ต่อปีอยู่ที่ 360,000 บาท ดังนั้นเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง 36,000-54,000 บาท

หรือเลือกซื้อประกันที่ผู้เอาประกันมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ารักษาเพื่อให้ได้ค่าเบี้ยประกันที่ถูกลง ไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพแบบมีส่วนร่วมจ่าย (Co-payment) คือการที่ประกันจะมีการระบุว่าในการเข้ารับการรักษาแต่ละครั้ง ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนร่วมจ่ายเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของค่ารักษาทั้งหมด หรือประกันสุขภาพแบบมีความรับผิดส่วนแรก (Deductible) คือประกันที่มีการระบุเงื่อนไขความคุ้มครองให้ผู้เอาประกันภัยต้องออกค่าใช้จ่ายในการรักษาส่วนหนึ่งเองหรือนำไปเบิกกับสวัสดิการหรือเบิกกับประกันสุขภาพเดิมที่มีส่วนหนึ่ง หากค่าใช้จ่ายเกินกว่าค่ารับผิดส่วนแรกที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ บริษัทผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายส่วนเกินให้กับเรา ทำให้สามารถประหยัดค่าเบี้ยประกันสุขภาพได้มากขึ้น หากมีวงเงินความรับผิดส่วนแรกมาก

โดยทั้งประกันสุขภาพแบบมีส่วนร่วมจ่าย (Co-payment) และประกันสุขภาพแบบมีความรับผิดส่วนแรก (Deductible) มีข้อดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยที่ถูกกว่าประกันสุขภาพทั่วไป อีกทั้งสามารถใช้คู่กับประกันกลุ่มหรือประกันส่วนตัวได้ ทำให้เราได้จ่ายเบี้ยน้อยลงและยังได้รับความคุ้มครองแบบเต็มอิ่มอีกด้วย

 

โรงพยาบาลที่จะใช้บริการ

ควรสำรวจโรงพยาบาลที่เราจะใช้บริการหรือคาดว่าจะใช้บริการเพื่อทราบถึงค่าใช้จ่ายทั้งกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน แต่แน่นอนว่าโรงพยาบาลเอกชนมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลรัฐ ยกตัวอย่างเฉพาะค่าห้องกรณีที่ต้องแอดมิท ราคาค่าห้องโรงพยาบาลรัฐบาลกรณีพักเดี่ยวเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,000 บาทต่อคืน แต่สำหรับเอกชนราคาค่าห้องเฉลี่ยต่อคืนไม่ต่ำกว่า 6,000 บาท ซึ่งยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ขณะทำการรักษาในโรงพยาบาล ที่สำคัญควรเลือกประกันสุขภาพที่มีโรงพยาบาลในเครือข่ายหลากหลาย จะได้ครอบคลุมความเสี่ยงด้านสุขภาพทุกพื้นที่

 

กรณีที่ซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพในประกันชีวิต

ควรเลือกผูกสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพกับกรมธรรม์ประกันชีวิตหลักที่ให้คุ้มครองในระยะยาว เพื่อให้การต่อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพรายปีเป็นไปอย่างราบลื่น ไม่ติดขัดเรื่องกรมธรรม์หลักสิ้นสุดความคุ้มครองแล้วไม่สามารถต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพได้

เลือกซื้อประกันสุขภาพให้เหมาะสมกับตัวเอง

 

ปรึกษา หรือสอบถามประกันสุขภาพได้ฟรี!!

โทร. 062 875 4269
Link

 

https://www.oic.or.th/th/education/insurance/health

https://www.muangthai.co.th/th/article/health-insurance-tips-for-salaryman

https://www.hugsinsurance.com/article/hospital-admission-cost